ร่วมมือกันสร้างเสริมสุขภาพกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีอีกน๊าน........นาน

ข้อมูลทั่วไป

จากการสอบถามได้ความว่าพื้นที่ตำบลบ่อ เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชใช้เส้นทางเดินทัพผ่านมาทางจังหวัดจันทบุรี  เพื่อจะเดินทางต่อไปจังหวัดตราด   ในระหว่างทางได้มาหยุดพักแรมและตั้งค่ายทหาร เนื่องจากในกองทัพมีทหารจำนวนมากจึงจำเป็นต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก   ทหารจึงช่วยกันขุดบ่อ ขุดหนองเพื่อใช้ประโยชน์ในการพักแรม   เรียกบริเวณดังกล่าวว่า หนองทหารแล้วจึงเพี้ยนมาว่า หนองระหาร ปัจจุบันคือบ้านหนองระหาร
           ตำบลบ่อเริ่มมีการก่อตั้งก่อนสมัยรัชการที่ 5 โดยมีชาวบ้านพื้นเมืองดั้งเดิม คือ ชาวชอง ซึ่งมีภาษาพูดอย่างหนึ่งแตกต่างจากภาษาเขมรและภาษาไทย ทางมานุษยวิทยาได้จัดให้อยู่ในจำพวกตระกูลมอญ-เขมร เช่นเดียวกับพวกขอมโบราณ พวกชอง ชอบลูกปัดสีต่างๆ และใช้ทองเหลืองเป็นเครื่องประดับ เข้าใจว่าเดิมทีเดียวพวกชองนี้คงจะตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ตามท้องที่ต่างๆ ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี และถอยร่นเข้าป่าเข้าดงไป เมื่อไทยมีอำนาจเข้าครอบครองเมืองจันทบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา  โดยชาวบ้านเหล่านี้ได้ตั้งบ้านเรือนตามแนวทางคมนาคมและแหล่งน้ำ  ซึ่งสภาพพื้นที่เมื่อในสมัยก่อนเป็นหนองน้ำและทุ่งหญ้า  และมีการขุดบ่อน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น  จึงเรียกว่าบ้านบ่อ
1.ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลบ่อ  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอขลุง ทางทิศตะวันออกประมาณ 13 กิโลเมตรและห่างจากตัวจังหวัดจันทบุรี ประมาณ 40 กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด 85.10 ตร.กม. หรือ 53,187 ไร่ มีแม่น้ำเวฬุไหลผ่าน ซึ่งกั้นระหว่าง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด
ทิศเหนือ         มีอาณาเขตติดต่อกับ     ตำบลซึ้ง  อำเภอขลุง  จังหวัดจันทบุรี
ทิศใต้             มีอาณาเขตติดต่อกับ     ตำบลบางชัน  อำเภอขลุง  จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันออก    มีอาณาเขตติดต่อกับ     ตำบลประณีต  ตำบลแสนตุ้ง  อำเภอเขาสมิง   จังหวัดตราด
ทิศตะวันตก     มีอาณาเขตติดต่อกับ     ตำบลวันยาว  อำเภอขลุง  จังหวัดจันทบุรี
แผนที่ที่ตั้ง

2. ลักษณะการปกครอง
ตำบลบ่อมีจำนวน  10  หมู่บ้าน  แบ่งเขตรับผิดชอบออกเป็น  2  เขต  ดังนี้
(1)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อ  ประกอบด้วยพื้นที่รับผิดชอบ  หมู่ 2,3,4,5,6,7
(2)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อเจริญ ประกอบด้วยพื้นที่รับผิดชอบ  หมู่  1,8,9,10
ที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อเจริญเลขที่ 11 หมู่ที่ 10 บ้านบ่อเจริญ ตำบลบ่อ
อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี   เปิดดำเนินการ เมื่อ พ.ศ. 2537
3. ลักษณะภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดินทราย  ลักษณะของที่เป็นทุ่งโล่ง  บางส่วนเป็นป่าชายเลน  ใช้ประโยชน์ในการทำนา  ทำสวนผลไม้  การประมง  การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

4. ลักษณะภูมิอากาศ
อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน  ]มรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่านทำให้อากาศชุ่มชื้น  ภูมิอากาศร้อนชื้น อากาศดีชุ่มชื้น ฝนตกเกือบตลอดปี  
5. สภาพทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาล  ประกอบอาชีพเกษตรกร  ได้แก่  การทำสวนผลไม้  ทำไร่  ทำนา  ประมง  เลี้ยงกุ้ง  อาชีพที่รองลงมาได้แก่  รับจ้าง  การค้าขาย  เป็นต้น
6. ทรัพยากรธรรมชาติ
6.1 ทรัพยากรน้ำ
แม่น้ำเวฬุ  ไหลผ่านเขตตำบลตกพรม วังสรรพรส บ่อ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่บ้านเกาะจิก ตำบลบางชัน แม่น้ำบาตอนบนเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างอำเภอมะขามกับขลุง ตอนใต้เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างจันทบุรีกับตราด และมีต้นน้ำจากภูเขาสระบาป เป็นลำคลองน้ำจืดไหลผ่านเขตพื้นที่ตำบลซึ้ง ตรอกนอง มาบไพ เกวียนหัก ตะปอน ขลุง ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี แต่ละคลองมีฝายกั้นน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตร
6.2 ทรัพยากรป่าไม้
ป่าชายเลนพื้นที่ตำบลบ่อถูกหักล้างถางพง  เพื่อทำพื้นที่นากุ้ง  ปัจจุบันได้รับการปลูกป่าและอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน  โดยสถานีพัฒนาป่าชายเลน ที่ 2  บ้านท่าสอน  และประชาชนในพื้นที่  ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิดและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
7. แหล่งท่องเที่ยว
ตำบลบ่อมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ป่ายชายเลนบ้านท่าสอน  ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ  และมีสถานที่ดูหิ่งห้อยและนกเหยี่ยวแดง  ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวจากในพื้นที่และต่างจังหวัด  เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
 
8. การคมนาคมและขนส่ง
การคมนาคมทางบก มีถนนลาดยางตัดผ่าน มีทางหลวงหมายเลข 3 (บางนา-ตราด) ตัดผ่านตัวตำบล มีการคมนาคมที่สะดวก
การคมนาคมทางน้ำ คือพื้นที่บริเวณริมป่าชายเลน    โดยใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทาง ฤดูที่มีมรสุมมีความยากลำบากต่อการเดินทาง
9. สาธารณูปโภค
9.1
  การไฟฟ้า   ตำบลบ่อ  อยู่ในเขตการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอขลุง
9.2  การประปา  มีการให้บริการจำหน่ายน้ำประปาให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ่อ  จากสำนักงานประปาขลุง 
10. การศาสนา  ในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อเจริญ
ประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
 มีวัดจำนวน  3  แห่ง  ดังนี้
1.
  วัดหนองระหาน           
2.
  วัดวังสรรพรส
3.
  วัดหิรัญญาราม(วัดหวัก)
11. ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
          ประเพณีที่สำคัญภายในท้องถิ่น  ได้แก่  ประเพณีลอยกระทงและการแข่งขันเรือพาย  ประเพณีสงกรานต์รดน้ำผู้สูงอายุ  ประเพณีนิยมตามเทศกาลและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เช่น  การแห่เทียนจำนำพรรษา  เป็นต้น
12. การศึกษา
การศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบ่อโดยความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อเจริญ
          1.  มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา  จำนวน  2  โรงเรียน
             1.1 
บ้านหนองระหาน
   1.2  วัดวังสรรพรส
          2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   1 แห่ง
13.สถานที่หน่วยราชการ สถานที่สำคัญอื่นๆ
ป้อมตำรวจชุมชน 1 แห่ง
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน 1 แห่ง
วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ได้แก่
          1.วิสาหกิจชุมชนเทศบาลตำบลบ่อ  ตั้งอยู่ที่ 26 ม.3 ตำบลบ่อ

          2.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ่อ  ตั้งอยู่ที่ ม.10  ตำบลบ่อ